บริษัท เซมมิเทคไฮโดร เทคโนโลยี จำกัด

ZYMETEC HYDRO TECHNOLOGY CO.,L TD

ช่องทางติดต่อ >> CLICK <<  
 

มุมความรู้ทางวิชาการ

การเติมออกซิเจนในน้ำ หรือ การเติมอากาศในน้ำ

เครื่องเติมอากาศ เป็นหัวใจของการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจนจากอากาศ เพราะหากระบบบำบัดน้ำเสียขาดออกซิเจน จุลินทรีทั้งหลายก็ไม่สามารถทำงานได้ ถ้ามีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่สูง ระบบก็สามารถบำบัดน้ำได้ดีหรือสามารถรับน้ำเสียได้มากขึ้น แต่เนื่องจากค่าการละลายน้ำของออกซิเจน(DO)ที่ความดันบรรยากาศมีค่าต่ำย่อมจะทำให้มีแรงขับ (Driving Force) ต่ำตามไปด้วย

ดังนั้น การเพิ่มอัตราการละลายน้ำของออกซิเจน(DO)ที่ความดันบรรยากาศ จึงได้แก่การเพิ่มผิวสัมผัส (Interfacia Area) ระหว่างอากาศกับน้ำให้มีค่ามากที่สุด

สภาพการทำงานโดยทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสีย จะมีค่าความต้องการออกซิเจนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปริมาณความต้องการออกซิเจนของจุลินทรี ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการไหลเข้าของน้ำเสียและความเข้มข้นของมวลสารอินทรีย์ ซึ่งในการออกแบบจะต้องเติมออกซิเจนให้แก่ระบบที่ความต้องการสูงสุดได้อย่างเพียงพอ การเติมอากาศให้กับระบบบำบัดน้ำเสียสามารถเติมได้โดย

  1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้การเติมอากาศแบบนี้ เช่น ระบบบ่อผึ่ง (Oxidation Ponds)ออกซิเจนจากอากาศจึงแพร่ลงบนเฉพาะที่ผิวหน้าของบ่อผึ่งเท่านั้น ถ้าหากอัตรา ความต้องการใช้ออกซิเจนในระบบ (BOD) มีมากกว่าอัตราการแพร่ของออกซิเจน ก็จะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่าไร้อากาศ (Anaerobic)หรือค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีค่าเท่ากับ 0 ในสภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นจากก๊าซไข่เน่า (H2S)ในระบบบำบัดน้ำเสียได้ และน้ำจะมีสีดำ การเติมอากาศวิธีนี้จึงไม่ต้องการพลังงานในการเติมอากาศ(ที่เรียกว่าบ่อ ผึ่งนั่นเอง)
  2. โดยใช้เครื่องกลเติมอากาศ ZYMETEC รุ่นต่างๆ เช่น กังหันรอบช้า ชนิดต่างๆ ,เครื่องเติมอากาศแบบใต้น้ำ(jet aerator) เครื่องกลในระบบบำบัดแบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)เครื่องกลในระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge)เป็นต้น ซึ่งการเติมอากาศวิธีนี้จำเป็นต้องมีพลังงานมาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมที่ดี ก็จะเกิดการสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ เครื่องกลเติมอากาศมีหน้าที่อยู่ 2 ประการ คือ หน้าที่ในการให้ออกซิเจนแก่น้ำในระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างพอเพียง และหน้าที่ในการกวนน้ำเพื่อให้ออกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่กระจายออกเสมอทั่วทั้งบริเวณที่ต้องการ พลังงานที่ใช้ในการกวนนี้จะต้องมีค่าพอเหมาะสำหรับการกระจายออกซิเจนในน้ำต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรี เพราะถ้ากวนน้อยเกินไปจุลินทรีจะไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เป็นผลให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ควร แต่ถ้ากวนแรงเกินไปก็จะสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่เกิดประโยชน์ เครื่องกลเติมอากาศแต่ละชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสียในด้านต่างๆ ดังนั้นการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ จะต้องเข้าใจหลักการทำงาน วิธีคำนวณ ตลอดจนเข้าใจถึงวิธีการทดสอบสมรรถนะในการถ่ายเทออกซิเจนลงไปในน้ำต่อพลังงาน (Performance of Oxygen Transfer in Water) หน่วยเป็นกิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า-ชั่วโมง ปัจจุบันมีการออกแบบเครื่องjet aerator/zymetec  รุ่นใหม่  ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ไปจนถึงล่าสุด ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพ เอนไซม์  ช่วยเพิ่มปริมาณออกเจนไดมากถึง5เท่า เมื่อใช้ร่วมกับระบบเติมอากาศ โดยใช้หลักการ แยกโมเลกุลของน้ำ รวมถึงโมเลกุลของเสียต่างๆที่เจือปนในน้ำ ให้เปลี่ยนสภาพให้เป็นอิสระ(เพื่อง่ายต่อการ บำบัดของเสียในน้ำ)

ข้อมูลการบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศฉบับนี้  เผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อความเข้าใจและเพื่อนำไปประกอบแนวทางการจัดการน้ำเสียขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง  หากต้องการข้อมูลเชิงลึกของอุปกรณ์ ดังที่กล่าว โปรดเข้าชมที่เว็บไซต์ http://www.zymetec.com

หรือติดต่อสอบถามข้อมูล ที่ 02 450 6038 ทุกวัน จันทร์-เสาร์ เวลาทำการ (สายด่วน 092 539 4945 วันหยุด )





"เครื่องเติมอากาศ 

ที่ผลิตภายในประเทศ

สามารถให้บริการหลังการขาย

ได้อย่างครอบคุม"


ประโยชน์ ของการเติมออกซิเจนในน้ำ

แท้จริงแล้ว ออกซิเจน ไม่เพียงแต่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างเดียว ยังมีอีกหลากหลายอย่างที่ต้องการ หรือนำเอาออกซิเจไปใช้ เราอาจไม่เคยรู้ มาก่อน เพราะมันคือ กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติที่เกื้อกูลกันและกัน ยกตัวอย่าง สารประประเภท เหล็กและแมงกานิส ที่มีอยู่ในน้ำ ยังสามารถเปลี่ยนแปลงหรือลดลงได้ด้วยออกซิเจน เช่นน้ำบาดาล เดิมที่มันอยู่ในดินหรือในท่อ ที่ไม่มีอากาศ แต่พอเราสูบขึ้นมา ทิ้งไว้ในภาชนะ ให้เวลาผ่านไป เมื่อวัดดูอีกครั้ง ค่าต่างๆลดลง นั่นแค่แบบธรรมชาติ ดังนั้น เราจะมาศึกษากันอีกต่อไปว่า ตัวอย่างอื่นจะนำไปประยุกใช้งานกับเราได้อย่างใร ......(อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล


ตะกรันกับอุตสาหกรรม สำหรับยุค 2021

#ปี2021 น่าจะเป็นปีที่ต้องสะสางปัญหาเก่าที่เคยสะสมมาอย่างยาวนานพร้อมกับการเริ่มต้นติดตั้งเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม กับคุณภาพที่ลดลงเรื่อยๆ เพื่อช่วยกันประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ อย่าง เช่นต้นทุนหลักก็คือต้นทุนการผลิต เพราะนั่นมันคือการสูญเสียกระเป๋าเงินผู้ประกอบการธุรกิจโดยตรง ทั้งที่น่าจะมีทางเลือกมากกว่านี้

ต่อมาด้านเตรื่องจักรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะระบบที่มีน้ำหล่อเลี้ยงภายใน ตรงนั้นยิ่งความจำเป็นอย่างมาก ดังจะยกตัวอย่างปัญหาที่เป็น #ภัยคุกคาม ที่ท๊อปๆมาดังนี้

.................................

  1. หินปูน =เปลืองพลังงาน-เสียโอกาสในการผลิต
  2. แบคที่เรีย =เครื่องสกปรก-เปลืองพลังงาน-เป็นแหล่งเพราะเชื้อ
  3. ตะไคร่น้ำ=เหมือกับข้อที่2
  4. สนิม(เฉพาะท่อโลหะ) =กัดกร่อนโลหะและเปลืองพลังงาน

..........................................

ทั้ง4หัวข้อนี้ ต่างก็สร้างปัญหาออกไปคนละแบบและคล้ายๆกันบ้างก็มี

เพราะฉนั้นในขั้นตอนการปรับสภาพน้ำก็ต้องมีคุณภาพที่ดีที่สุดถึงจะหยุดปัญหานี้ได้ เช่นการใช้สารเคมี หรือการใช้ระบบกรอง หรือรวมกันทั้ง2แบบ เหล่านี้ จะมีต้นทุนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคุณภาพของสิ่งนั้น แต่ก็คือต้องใช้แรงงานคน เป็นผู้ดูแลและจ่ายค่าดูแลทั้งสิ้น อย่างต่อเนื่อง ไม่มีโอกาสหยุดจ่าย

..............

จะเยี่ยมแค่ไหนถ้า HydroFlow หยุดปัญหาทั้งหมดนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี หรือระบบกรองจากคุณภาพน้ำประปาในปัจจุบันที่ใช้อยู่ และสำคัญมากคือ Hydroflow ไม่มีการซ่อมบำรุง เนื่องเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานการผลิตสูง มีความทนทานสูงมาก อายุการใช้งานนานเกิน 12ปี และยังคืนทุนได้เร็วภายใน 1-2ปี

***สนใจทดสอบประสิทธิภาพระบบฟรี ขอแบบฟอร์มใบสมัครได้ทุกวันที่ E-mail: [email protected] หรือ @line ที่ thaizymetec  ยินดีให้บริการทั่วประเทศ

......................



เซมมิเทค ไฮโดรเทคโนโลยี 
สายด่วน 0925394945 หรือ0847326778
สงวนลิขสิทธิ์ 2555

แนะนำโดย webmaster

Visit All : 13100
© 20019-2020,  All Rights Reserved.